ตำบลแม่ปะ
ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ตำบลแม่ปะ มีเรื่องเล่าว่าได้มีช้างของราษฎรในตำบลพะวอหาย เจ้าของได้ออกตามหาและมาพบที่สันป่าซาง (สัน = ภูเขา, ซาง = ไม้ไผ่ซาง) จึงเรียกบริเวณนั้นว่า "แม่ปะสันป่าซาง" (ปะ = พบ) เมื่อมีคนเข้ามาตั้งถิ่นฐานจึงเรียกที่นี้ว่า "บ้านแม่ปะสันป่าซาง" เรียกสั้นว่า "บ้านแม่ปะ" ต่อมาได้ยกฐานะเป็นตำบลใช้ชื่อว่า "ตำบลแม่ปะ" อยู่ในความรับผิดชอบของอำเภอแม่สอดมีหลักฐานว่าเมื่อ 150 ปีที่ผ่านมา บริเวณที่ตั้งตำบลท่าสายลวด ปัจจุบันนี้ยังมีสภาพป่ารกทึบ ติดกับฝั่งแม่น้ำเมย และไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ จนกระทั่งมีกลุ่มคนไทยซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานว่าอพยพมาตั้งหลักฐานอยู่บริเวณบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเมยเมื่อใด โดยการปลูกไร่อ้อยและยาสูบ ต่อมาไม่นานก็มีการขยายตัวของหมู่บ้าน ประกอบกับบริเวณหมู่บ้านริมฝั่งแม่น้ำเมยมีการติดตั้งสายโทรเลขจากเมืองกรุกกริก ฝั่งประเทศพม่า ถึงประเทศไทย ผ่านอำเภอแม่สอดจนถึงตัวจังหวัดตาก เป็นความร่วมมือระหว่างไทย-อังกฤษ และในแนวที่สายโทรเลขพาดผ่านนั้นจะมีการทางเดินเท้าติดตามตลอดจนถึงตัวเมืองแม่สอด เส้นทางนี้มีความสำคัญสำหรับชาวบ้านในบริเวณนี้ ซึ่งใช้เป็นเส้นทางคมนาคมและมีการสร้างวัดใกล้ท่าน้ำ และท่าข้ามเรือบริเวณที่มีสายโทรเลขผ่านจึงเรียกว่า "วัดท่าสายโทรเลข" ต่อมามีหมู่บ้านเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และเกิดการรวมตัวกันเรียกชื่อใหม่ว่า "หมู่บ้านท่าสายลวด" มาจนถึงปัจจุบันปี พ.ศ. 2493 มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลแม่สอด จังหวัดตาก พ.ศ. 2493 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2493 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ จอมพล ป พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี (หน้า 669-674 ตอนที่ 35 เล่ม 67 ราชกิจจานุเบกษา 27 มิถุนายน 2493) โดยที่เป็นการสมควรเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลแม่สอด จังหวัดตาก เสียใหม่ตามความจำเป็นแห่งการบริหารงานของเทศบาล จึงมีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลแม่ปะและตำบลท่าสายลวดในท้องที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2493 ลงนามโดย รามราชภักดี ปลัดกระทรวง ลงนามแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (หน้า 6299-6302 ตอนที่ 67 เล่ม 67 ราชกิจจานุเบกษา12 ธันวาคม 2493) เนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลแม่สอด จังหวัดตาก พ.ศ. 2493 เพื่อลดเขตเทศบาลตำบลแม่สอดให้เล็กลงตามความจำเป็นแห่งการบริหารงานของเทศบาล จึงเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนถึงเขตการปกครองส่วนภูมิภาค เพราะส่วนที่เคยอยู่ในเขตเทศบาลมาแต่เดิม ได้เปลี่ยนสภาพมาเป็นอยู่นอกเขตเทศบาล ฉะนั้น เพื่อให้การำเนินการปกครองได้เป็นไปตามนัยแห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 ข้าหลวงประจำจังหวัดตาก อาศัยความในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 มาตรา 6, 29 และพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2476 มาตรา 20 จึงได้ดำเนินการปรับปรุงเขตการปกครองในท้องที่อำเภอแม่สอดเสียใหม่ โดยรวมเขตหมู่บ้านต่าง ๆ ที่ได้ถูกเปลี่ยนสภาพมาอยู่นอกเขตเทศบาลนี้ จัดตั้งเป็นตำบลขึ้นใหม่ อีก 2 ตำบล ขนานนามตำบลว่า "ตำบลแม่ปะ" และ"ตำบลท่าสายลวด" ให้ขึ้นอยู่ในความปกครองของอำเภอแม่สอด ซึ่งแต่ละตำบลมีเขตดังนี้ คือ
1. ตำบลแม่ปะ
· ทิศเหนือ จดเขตตำบลแม่กาษา อำเภอแม่สอด
· ทิศใต้ จดเขตเทศบาลตำบลแม่สอด
· ทิศตะวันออก จดเขตตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด
· ทิศตะวันตก จดเขตตำบลแม่ตาว ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด และแม่น้ำเมย เขตประเทศพะม่า (ภาษาในขณะนั้น)
แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน คือ
· หมู่ที่ 1 บ้านแม่ปะเก่า
· หมู่ที่ 2 บ้านแม่ปะสันป่าซาง
· หมู่ที่ 3 บ้านแม่ปะคำมา
· หมู่ที่ 4 บ้านห้วยกะโหลก
· หมู่ที่ 5 บ้านปากห้วยแม่สอด
· หมู่ที่ 6 บ้านห้วยหินฝน
2. ตำบลท่าสายลวด
· ทิศเหนือ จดเขตตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด
· ทิศใต้ จดเขตตำบลแม่ตาว อำเภอแม่สอด
· ทิศตะวันออก จดเขตตำบลเทศบาลตำบลแม่สอด
· ทิศตะวันตก จดแม่น้ำเมย เขตประเทศพะม่า (ภาษาในขณะนั้น)
แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน คือ
· หมู่ที่ 1 บ้านแม่ตาว
· หมู่ที่ 2 บ้านแม่ตาวท่าสายลวด
· หมู่ที่ 3 บ้านท่าหม่องอาจ
· หมู่ที่ 4 บ้านวังตะเคียน
· หมู่ที่ 5 บ้านปากห้วยแม่สอด
· หมู่ที่ 6 บ้านหนองกิ่งฟ้า
กระทรวงมหาดไทยอนุมัติให้ตั้งตำบลและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลดังกล่าวข้างต้นได้ ตั้งแต่วันที่ 27
พฤศจิกายน 2493 เป็นต้นไป
ตำบลท่าสายลวดอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของอำเภอแม่สอด ห่างจากตัวอำเภอ 7 กิโลเมตร และมีระยะทางห่างจากตัวจังหวัด 93 กิโลเมตร
· ทิศเหนือ ติดต่อ ประเทศพม่า
· ทิศใต้ ติดต่อ เทศบาลตำบลแม่ตาว ตำบลแม่ตาว
· ทิศตะวันตก ติดต่อ ประเทศพม่า
จำนวนประชากร
ประชากรตำบลท่าสายลวด มีจำนวน 9,996 คน (พ.ศ. 2551) เฉลี่ยความหนาแน่นของประชากรตำบลท่าสายลวด ประมาณ 130.311 คน/ ตารางกิโลเมตร
ประวัติตำบลแม่สอด
“แม่สอดเมืองน่าอยู่ ประตูการท่องเที่ยวชายแดน
เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง แหล่งการค้าอัญมณี”
ตำบลแม่สอด เป็นหนึ่งในจำนวนทั้งหมด 10 ตำบลของอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ทรงครองราชย์ อยู่ในความปกครองของอำเภอแม่สอด แขวงเมืองตาก มณฑลนครสวรรค์ เป็นตำบลที่มีประวัติศาสตร์และพัฒนาการที่ยาวนาน นับได้ว่าเป็นตำบลแห่งแรก และถูกจัดตั้งขึ้นเป็นการปกครองส่วนภูมิภาคในระดับท้องที่พร้อมกับการจัดตั้งอำเภอแม่สอด หรือกว่า 111 ปี นับจาก พ.ศ. 2441 เป็นต้นมา
การปกครองในตำบลแม่สอด มิได้มีฐานะเริ่มแรกเป็นสภาตำบล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล แต่ถูกจัดตั้งครั้งแรกเป็นเทศบาลตำบลแม่สอด จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2482 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (ร.7) ต่อมาปี พ.ศ. 2544 เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลแม่สอดจัดตั้งเป็นเทศบาลเมืองแม่สอด เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
และเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553 ได้เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองแม่สอดจัดตั้งเป็นเทศบาลนครแม่สอด เพื่อรองรับความก้าวหน้าของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น จึงมีกฎหมายพิเศษในเรื่องของนครแม่สอดซึ่งจะเป็นเขตการปกครองส่วนพิเศษที่รัฐบาลจะได้ผลักดันในรูปแบบกรุงเทพมหานครกับเมืองพัทยา นครแม่สอดจะเป็นการปกครองท้องถิ่นพิเศษ มีความพิเศษมากขึ้นไป คือ จะเป็นครั้งแรกที่มีการจัดทำกฎหมายรองรับ ที่ให้ท้องถิ่นสามารถดำเนินมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของแรงงานต่างด้าว ซึ่งเริ่มด้วยการค้าชายแดน กฎหมายนี้ถือว่าจะเป็นกฎหมายการกระจายอำนาจและการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีความก้าวหน้าฉบับหนึ่งซึ่งก็เป็นนโยบายใหม่ที่รัฐบาลกำลังดำเนิน
ชื่อ "แม่สอด" นั้น สันนิษฐานไว้เป็น 3 นัย ประการแรก กล่าวกันว่า แม่สอดเป็นเมืองเดียวกันกับ "เมืองฉอด" ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ตั้งประชิดชายแดนอาณาจักรสุโขทัย เมืองฉอดมีเจ้าเมืองชื่อพ่อขุนสามชนคำว่า เมืองฉอด เรียกกันนานเข้าอาจเพี้ยนกลายมาเป็น "แม่สอด" ก็เป็นได้ อีกนัยหนึ่งแม่สอดอาจได้ชื่อมาจากชื่อของลำห้วยสายสำคัญที่ไหลผ่านหมู่บ้านนี้ คือ ลำห้วยแม่สอด ที่มีลักษณะการไหลของน้ำคดเคี้ยว สอดแทรกเข้าไปในพื้นที่ ส่วนอีกนัยหนึ่งแม่สอดอาจมาจากคำว่า "เหม่ช็อค" ในภาษามอญซึ่งแปลว่าพม่าตาย ซึ่งในอดีตด่านแม่สอด และด่านแม่ละเมาเป็นทางผ่านสำคัญในการทำศึกสงครามระหว่างสยามกับพม่า
ตราสัญลักษณ์แม่สอด
เป็นรูป กำแพงเมืองเปิด หมายถึง นครแม่สอด เป็นเมืองสำคัญชายแดนทาง
ประวัติศาสตร์ ในอดีต ดินแดนส่วนนี้เคยเป็นทางผ่านของกองทัพทั้งของไทยและพม่า คือ
ด่านแม่ละเมา แม่สอดเคยเจริญอย่างมากในสมัยสุโขทัย พ่อขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดเคยยก
ทัพไปตีกรุงสุโขทัย
ส่วนประตูเมืองเปิด หมายถึง กาลเวลาที่เปลี่ยนไป ที่เมืองแม่สอดยินดีต้อนรับผู้ที่มา
เยือนทุกๆ คน และที่เคยเป็นดินแดนที่เคยทางสงคราม ก็จะกลายเป็นการทางการค้า ที่
สามารถติดต่อไปถึงทวีปยุโรปได้
ที่ตั้งและอาณาเขต
แม่สอดตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดตาก ระหว่างเส้นรุ้งที่ 16 องศา 42 ลิปดา 47 พิลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 98 องศา 34 ลิปดา 29 พิลิปดาตะวันออก สูงกว่าระดับน้ำทะเล116.2 เมตร ณ ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอแม่สอด อำเภอแม่สอดมีพื้นที่ประมาณ 1,986.116 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,241,322.5 ไร่ ใหญ่เป็นลำดับที่ 3 ของจังหวัดตาก รองจากอำเภออุ้มผาง และอำเภอสามเงา
อำเภอแม่สอดมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภออื่นในประเทศไทย 3 อำเภอ และ 1 รัฐในประเทศพม่า ดังนี้
ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอพบพระ จังหวัดตาก
ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก โดยมีเทือเขาถนนธงชัยเป็นแนวกั้นเขต
ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับรัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า โดยมีแม่น้ำเมยเป็นกั้นพรมแดน
เนื้อที่
มีพื้นที่ประมาณ 27.20 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 17,000 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มเชิงเขา ทิศตะวันออกเป็นเทือกเขาถนนธงชัย ภายในเขตเทศบาลมีลำห้วยแม่สอดไหลผ่านตัวเมือง
ลักษณะภูมิประเทศ
อำเภอแม่สอดมีพื้นที่ทั้งสิ้น 1,986.116 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,241,322.50 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 12.11 ของเนื้อที่จังหวัด (เนื้อที่จังหวัด 16,406,650 ตารางกิโลเมตร) สภาพพื้นส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันซับซ้อนสลับกับหุบเขาแคบ ๆ ลักษณะภูมิประเทศของอำเภอเป็นที่ราบประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่อำเภอ และประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่ปกครองไปด้วยป่าโปร่งป่าดงดิบและป่าสน ภูเขาบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาถนนธงชัยที่ต่อลงมาจากทางตอนใต้ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงใหม่ ทอดผ่านจังหวัดตากและอำเภอแม่สอด ลงไปจนเชื่อมต่อกับทิวเขาตะนาวศรี จังหวัดกาญจนบุรี พื้นที่ลาดเอียงลงไปทางทิศตะวันตกลงสู่แม่น้ำเมยซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของอำเภอแม่สอด ตั้งอยู่ในภาคเหนือค่อนไปทางตะวันตกของประเทศไทยประกอบด้วยป่าไม้และเทือกเขาสูง มีพื้นที่ราบสำหรับการเกษตรน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นทิวเขาถนนธงชัยสูงสลับซับซ้อนเป็นตัวแบ่งพื้นที่ออกเป็นฝั่งตากตะวันออก คือ อำเภอเมืองตาก อำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา และอำเภอวังเจ้า ส่วนฝั่งตากตะวันตก คือ อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด อำเภอพบพระ อำเภอท่าสองยาง อำเภออุ้มผาง
ส่วนที่เป็นที่ราบต่ำถึงเป็นลอนลาด มีความสูงอยู่ระหว่าง 80-200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ครอบคลุมเนื้อที่ร้อยละ 16 ของจังหวัด บริเวณที่เป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนชันมีความสูงอยู่ระหว่าง 200-300 เมตร ครอบคลุมเนื้อที่ร้อยละ 10.5 ของจังหวัด
พื้นที่ที่เหลือเป็นเนินเขาเตี้ยไปจนถึงภูเขาสูง ซึ่งในกลุ่มนี้ มีพื้นที่ที่มีความสูงระหว่าง 300-700 เมตรจากระดับน้ำทะเลอยู่ร้อยละ 34.8 ของจังหวัด และมีความสูงมากกว่า 700-2,200 เมตร อยู่ร้อยละ 38.4 ของจังหวัด ยอดเขาสูงสุดทางตะวันออกของอำเภอท่าสองยางที่เคยวัดได้ มีความสูง 1,752 เมตร และยอดเขาสูงสุด ทางตะวันออกของอำเภออุ้มผางที่เคยวัดได้มีความสูง 1,898 เมตรจากระดับน้ำทะเล
มีพื้นที่การเกษตร 346,116 ไร่ พื้นที่ป่าไม้ 1,390,494 ไร่ และพื้นที่อยู่อาศัย 27,6701 ไร่
แหล่งน้ำ
แม่น้ำเมย หรือแม่น้ำต่องยิน นอกจากจะเป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างชายแดนตะวันออกของพม่ากับแนวชายแดนตะวันตกของไทย ที่มีความยาว 327 กิโลเมตร มีต้นน้ำอยู่ที่บ้านมอเกอ ตำบลพบพระ อำเภอพบพระ และไหลย้อนขึ้นไปทางทิศเหนือ ผ่านอำเภอท่าสองยางไปถึงแม่ฮ่องสอน ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน
ห้วยแม่สอดห้วยหัวฝาย ห้วยแห้ง ห้วยแม่ตาว ห้วยม่วง อ่างเก็บน้ำบ้านหัวฝาย อ่างเก็บน้ำบ้านห้วยลึกภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศมีอากาศเป็นแบบร้อนชื้น 3 ฤดู (ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว)ฤดูร้อน จะเริ่มราวกลางเดือนกุมภาพันธ์ –กลางเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 39.05 องศาเซลเซียสฤดูฝน จะเริ่มราวกลางเดือน พฤษภาคม - กลางเดือนตุลาคม ปริมาณน้ าฝนรวมเฉลี่ย 375.70 มิลลิเมตรฤดูหนำว จะเริ่มราวกลางเดือนตุลาคม –กลางเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิต่ าสุดเฉลี่ย 11.8 องศาเซลเซียส
เชื้อชาติและศาสนา
เชื้อชาติในอำเภอแม่สอด
เชื้อชาติไทย ในอดีต เชื่อกันว่า ชนชาติไทย เป็นชาติพันธุ์บริสุทธิ์ และเป็นต้นกำเนิดของทุกชาติพันธุ์ ในกลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได ทฤษฎีดังกล่าวถูกยกขึ้นมาในสมัยชาตินิยม ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งมีการเสนอว่า ชาวไทย (รวมใน ไท-กะได ทั้งหมด) อพยพมาจากเทือกเขาอัลไต มาตอนกลางของประเทศจีน สร้างอาณาจักรน่านเจ้าในบริเวณจีนตอนใต้ แล้วจึงอพยพลงมาทางตอนใต้สร้างเป็นอาณาจักรล้านนา และอาณาจักรสุโขทัย และ อาณาจักรอยุธยา ตามลำดับ ส่วนอีกทฤษฎีเชื่อว่าอพยพมาจากทางใต้ จากชวา สุมาตรา และคาบสมุทรมลายู แต่นักมานุษยวิทยาในปัจจุบันเชื่อกันว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได อยู่ที่บริเวณจีนตอนใต้ เรื่อยมาจนถึงรัฐฉาน (ประเทศพม่า) ประเทศไทยตอนบน และแอ่งที่ราบลุ่มภาคอีสาน เรื่อยไปยังประเทศลาว หลังจากนั้นจึงมีการอพยพเพิ่ม เช่นกลุ่มชาวอาหม ที่อพยพข้ามช่องปาดไก่ ไปยังอัสสัม และ ชาวไทแดงที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานบริเวณอาณาจักรสิบสองจุไท
เชื้อชาติกะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง เดิมอาศัยอยู่แถบบริเวณต้นแม่น้ำสาละวินของพม่า ต่อมาได้อพยพเข้าสู่ประเทศพม่าและไทย มีภาษาพูดเรียกว่าภาษากะเหรี่ยง จัดในตระกูลภาษาจีน-ทิเบตชาวกะเหรี่ยงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวหลายอย่าง นอกเหนือจากภาษาพูดแล้ว ยังมีการแต่งกาย ศิลปะการแสดง และประเพณีต่างๆ ปัจจุบันมีชาวกะเหรี่ยงในประเทศพม่าประมาณ 7 ล้านคน และในไทยประมาณ 4 แสนคนกลุ่มชาติพันธุ์ “กะเหรี่ยง” คนล้านนาและคนทางภาคตะวันตกมักเรียกกะเหรี่ยงว่า “ยาง” พม่าเรียกพวกนี้ว่า “กะยิ่น” ฝรั่งเรียกว่า “กะเรน” (บางที่เขียนว่า กะเร็น)
เชื้อชาติไทยใหญ่ คือกลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูลภาษาไท-กะได ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ขนาดใหญ่อันดับสองของพม่า ส่วนมากอาศัยในรัฐฉาน ประเทศพม่า และบางส่วนอาศัยอยู่บริเวณดอยไตแลง ชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า คนไทใหญ่ในประเทศพม่ามีประมาณ 3 หรือ 4 ล้านคน แต่มีไทใหญ่หลายแสนคน ที่ได้อพยพเข้าสู่ประเทศไทยเพื่อหนีปัญหาทางการเมืองและการหางาน ตามภาษาของเขาเองจะเรียกตัวเอง ไต หรือ ไต (ตามสำเนียงไทย) พี่น้องไตในพม่ามีหลายกลุ่ม เช่น ไตขืน ไตแหลง ไตคัมตี ไตลื้อ และ ไตมาว แต่กลุ่มใหญ่ที่สุดคือ ไตโหลง ไต = ไท และ โหลง (หลวง) = ใหญ่ ซึ่งคนไทยเรียก ไทใหญ่ เหตุฉะนั้นจะเห็นได้ว่าภาษาไต และภาษาไทยคล้ายกันบ้างแต่ไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ยังมีคำเรียกไทใหญ่อีกอย่างว่า เงี้ยว แต่เป็นคำที่ไม่สุภาพในการเอ่ยถึงชาวไทใหญ่
ศาสนา
ศาสนาพุทธ
พระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (บาลี: buddhasāsana พุทฺธศาสนา, สันสกฤต: buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นพระบรมศาสดา มีพระธรรมที่พระบรมศาสดาตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มี พระสงฆ์ หรือสังฆะแห่งพุทธบริษัท 4 เป็นชุมชนของผู้นับถือศาสนาและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา เพื่อสืบทอดไว้ซึ่งคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย1
ศาสนาสถานที่สำคัญ
วัดหลวงหรือวัดแม่สอด
วัดมณีไพรสณฑ์
ศาสนาคริสต์
ศาสนาคริสต์ (อังกฤษ: Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนา[1] เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน
ศาสนาสถาน
โบสถ์ คริสตจักรสมานสามัคคีแม่สอด
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลาม(อังกฤษ: Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยม (monotheism) บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งสาวกมองว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเจ้า (อาหรับ: اللهอัลลอฮฺ) และโดยคำสอนและตัวอย่างเชิงปทัสถาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด ซึ่งสาวกมองว่าเป็นศาสดาหรือนบีองค์สุดท้ายของพระเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม
จำนวนประชากรในอำเภอแม่สอด
ประชากรในแม่สอดปัจจุบันมีจำนวนประชากรทั้งหมด 141,538 คน
เฉลี่ยความหนาแน่นของประชากร 1,924 คน ต่อ 1ตารางกิโลเมตร
จำนวนประชากรและจำนวนครัวเรือนในเขตเทศบาลนครแม่สอด
อาคารบ้านเรือน 13,884 หลังคาเรือน
จำนวนครอบครัว 6,503 ครอบครัว
การคมนาคม
1.ทางบก
-ทางรถยนต์
รถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) แล้วเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1 อีกครั้ง ผ่านเข้ากำแพงเพชร และตรงไปจังหวัดตาก รวมระยะทาง 426 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมงครึ่ง จากอำเภอเมืองตาก ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ถึงอำเภอแม่สอด ระยะทางอีกประมาณ 86 กิโลเมตร โดยใช้เวลาอีกประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่งส่วนเส้นทางแม่สอด-พบพระ-อุ้มผาง ระยะทางประมาณ 164 กิโลเมตร ซึ่งการเดินทางช่วงนี้เป็นภูเขาสลับซับซ้อน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง ไม่ควรเดินทางกลางคืน รวมการเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงอุ้มผางประมาณ 9 ชม.
-ทางรถโดยสารปรจำทาง
สถานีขนส่งแม่สอด เป็นศูนย์กลางเชื่อมการขนส่งอำเภอท่าสองยาง แม่ระมาด พบพระ และอุ้มผาง ซึ่งเป็นอำเภอชายแดนก่อนเชื่อมตัวเมืองตาก จังหวัดอื่น และกรุงเทพมหานคร มีรถขนส่งสาธารณะผ่านสถานีขนส่งแม่สอด 14 สาย เดินรถวันละ 373 เที่ยว ผู้ใช้บริการกว่า 3,500 คนต่อวัน ในขณะที่แม่สอดยังเชื่อมการขนส่งข้ามแดนไทย-พม่า ที่เมียวดี ฝั่งตรงข้าม วันละ 120 เที่ยว ผู้ใช้บริการกว่า 1,500 คน ขณะเดียวกันการค้าชายแดนไทย-พม่า สูงถึงปีละกว่า 12,000 ล้านบาท
เป็นจุดเชื่อมโยงการขนส่งผู้โดยสาร และสินค้ากับกลุ่มเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงและอ่าวเบงกอล (GMS and BIMSTEC) และจุดเชื่อมการขนส่งแนวถนนระเบยียงเศรษฐกิจ ตะวันออก-ตะวันตก (East-west Economic Corridor) ตามแผนความร่วมมือพัฒนาของไทย กับประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้และอินโดจีน รวมถึงการรองรับการเป็นเขตเศรษฐกิจชาย แดน เขตนิคมอุตสาหกรรม แม่สอดมหานครฝั่งตะวันตกและการผลักดันยกฐานะแม่สอดเป็น จังหวัง
2.ทางอากาศ
ท่าอากาศยานแม่สอด เป็นสนามบินอนุญาต ที่ตั้ง Location Indicator VTPM ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก พิกัด ละติจูด 164159N ลองติจูด0983237E หน่วยงานที่รับผิดชอบ กองทัพอากาศ และกรมการขนส่งทางอากาศ กระทรวงคมนาคม ปัจจุบันมี4สายการบินให้บริการอยู่ โซล่าแอร์ แฮปปี้แอร์ นกแอร์ กานต์แอร์ ให้บริการ
กรุงเทพ(ดอนเมือง)- แม่สอด
3.ทางน้ำ
ในอำเภอแม่สอด มีบริการเรือยนต์และแพข้ามฟากแม่น้ำเมย ระหว่างไทย-พม่า เฉพาะฝั่งไทย การขนสินค้าเข้าออกจะขนผ่าน 19 ท่าข้าม ที่ได้รับอนุมัติเป็นคลังสินค้าชั่วคราวตามกฎหมายศุลกากร ซึ่งเป็นการขนสารพัดสินค้าที่ผ่านพิธีการทางศุลกากรของไทยแล้ว แต่บางประเภท ก็จำเป็นต้องขนส่งผ่านท่าข้าม เพื่อเลี่ยงกำแพงภาษีของพม่า ที่มีการตั้งไว้สูงเพราะระบุไว้เป็นสินค้าห้ามนำเข้า
อาชีพและรายได้
- ประชาชนในเขตเทศบาลนครแม่สอดส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพค้าขาย การบริการและการ อุตสาหกรรม
-รายได้เฉลี่ยของประชากร 42,298 บาท / คน / ปี (ภาพรวมทั้งจังหวัด)
การเกษตรกรรม
พื้นที่เพาะปลูกภายในเขตเทศบาล ส่วนใหญ่จะอยู่รอบนอกเขต การเพาะปลูกส่วนใหญ่ จะเป็นพืชไร่
รองลงไป เป็นข้าว และไม้ผลตามลำดับ พืชที่สำคัญในเขตเทศบาลเมืองแม่สอด ได้แก่ ข้าวโพด
เลี้ยงสัตว์ ข้าว ถั่วเหลือง
การอุตสาหกรรม
ในเขตเทศบาลเมืองแม่สอด มีอุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ อุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง เสื้อผ้าสำเร็จรูป
, เฟอร์นิเจอร์ ,อัญมณีและเครื่องประดับ โดยแยกเป็น
- อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จำนวน 10 แห่ง
- อุตสาหกรรมขนาดเล็ก จำนวน 35 แห่ง
ผลิตภัณฑ์ OTOP
ต้นไม้หยก
รายละเอียดผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ต้นไม้หยก ฝีมือประณีต สวยงาม แข็งแรง ใช้ประดับตกแต่งบ้านและสถานที่ต่าง ๆ ให้ดูสวยงาม
วัตถุดิบที่ใช้
หยก, หินสี, ลวด, กระถาง
สถานที่จำหน่าย
กลุ่มชุมชนบ้านท่าอาจ
146 หมู่ 3 บ้านท่าอาจ ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก
ติดต่อ : นายประยูร ลือชัยโทร : 055-563228
ธูปหอมอัมพัน
รายละเอียดผลิตภัณฑ์
จากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถ่ายทอดการทำธูป มาสู่การออกแบบและปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ใหม่ ให้เกิดความสวยงามหลากหลายรูปแบบ ผลิตด้วยวัตถุดิบจากธรรมชาติคุณภาพสูง มีกลิ่นหอม ใช้สีผสมอาหารในการทำสี
สถานที่จำหน่าย กลุ่มธูปหอมอัมพัน
82 หมู่ 3 บ้านแม่ตาวแพะ ถนนแม่สอด-แม่ตาว ตำบลแม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 63110
ติดต่อ : คุณอัมพัน เครืออยู่
โทร : 055 802707, 08 9634 8491
โทรสาร : 055 532977
e-mail : santiincense@hotmail.com
ชุมชนในตำบลแม่สอด
ประวัติชาวไทยลื้อ
เดิมชาวไทลื้อมีถิ่นที่อยู่บริเวณหัวน้ำของ (น้ำโขง) เมืองลื้อหลวง จีนเรียกว่า "ลือแจง" ต่อมาได้เคลื่อนย้ายลงมาอยู่บริเวณเมืองหนองแส หรือที่เรียกว่าคุนหมิงในปัจจุบัน แล้วย้ายลงมาสู่ลุ่มน้ำของ (น้ำโขง) สิบสองปันนาปัจจุบัน ประมาณศตวรษที่ 12 จึงเกิดมีวีรบุรุษชาวไทลื้อชื่อ เจ้าเจื๋องหาญ ได้รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ในสิบสองปันนาปัจจุบันตั้งเป็นอาณาจักร แจ่ลื้อ (จีนเรียกเซอลี่) โดยได้ตั้งศูนย์อำนาจการปกครองเอาไว้ที่หอคำเชียงรุ่ง นาน 790 ปี ต่อมาถึงสมัยเจ้าอิ่นเมือง ครองราชต่อมาในปี ค.ศ.1579-1583(พ.ศ.2122-2126) ได้แบ่งเขตการปกครองเป็นสิบสองหัวเมือง แต่ละหัวเมืองให้มีที่ทำนา 1,000 หาบข้าว (เชื้อพันธุ์ข้าว) ต่อมาหนึ่งที่/หนึ่งหัวเมือง จึงเป็นที่มาจนถึงปัจจุบัน
เมืองสิบสองปันนาได้แบ่งเขตการปกครองเอาไว้ในอดีตดังนี้
1. ปันนาเชียงรุ่ง มี 2 เมือง คือเมืองเชียงรุ่ง, เมืองฮำ
2. ปันนาเมืองแจ่ มี 3 เมือง คือเมืองอ๋อง, เมืองงาด, เมืองแจ่
3. ปันนาเมืองหน มี 2 เมือง คือเมืองปาน, เมืองหน
4. ปันนาเมืองเจียงเจื่อง มี 2 เมือง คือเมืองฮาย, เมืองเจื่อง
5. ปันนาเจียงลอ มี 4 เมืองคือเมืองมาง, เมืองงาม, เมืองลางเหนือ, เมืองเจียงลอ
6. ปันนาเมืองลวง มี 1 เมืองคือเมืองโลง
7. ปันนาเมืองลา มี 2 เมือง คือเมืองบาง, เมืองลา
8. ปันนาเมืองฮิง มี 2 เมืองคือเมืองวัง, เมืองฮิง
9. ปันนาเมืองล้า มี 2 เมืองคือเมืองบาน, เมืองล้า
10. ปันนาเมืองพง มี 2 เมืองคือเมืองหย่วน, เมืองพง อีกเมืองส่างกาง ส่างยอง
11. ปันนาเมืองอู๋ มี 2 เมืองคือเมืองอู๋ใต้, เมืองอู๋เหนือ (ปันนานี้ตกเป็นเขตแดนลาวล้านข้าง สมัยฝรั่งเศสปกครองประเทศลาวถึงปัจจุบัน)
12. ปันนาเจียงตอง มี 4 เมืองคือ เมืองบ่อล้า, เมืองอีงู, เมืองอีปัง, เมืองเจียงตอง
จึงเป็นที่มาของคำว่า "สิบสองปันนา"
ในห้วงระหว่างปี ค.ศ.1782-1813 (พ.ศ. 2325-2356) ชาวไทลื้อได้ถูกพระยากาวิละทำการกวาดต้อนลงมาลักษณะเก็บผักใส่ข้า เก็บข้าใส่เมือง
ในปีค.ศ.1949 (พ.ศ.2492) เหมาจูซี้ (เหมาเซตุง) ได้ยึดอำนาจการปกครอง และได้นำระบอบคอมมิวนิสต์มาใช้ มีการริดรอนอำนาจเจ้าฟ้า ริดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน ทำให้เจ้าหม่อมคำลือ เจ้าฟ้าในขณะนั้นต้องสูญสิ้นอำนาจลงในปี ค.ศ.1953 (พ.ศ.2496) ชาวไทลื้อในสิบสองปันนาจึงทยอยหลบหนีออกเมืองมาเรื่อย ๆ ต่อมาในปี 1958 (พ.ศ.2501) เหมาเซตุงได้ปฏิวัติวัฒนธรรมครั้งใหญ่ ไทลื้อในสิบสองปันนาจึงหลบหนีออกเมืองมากที่สุดเป็นประวัติการณ์
ชาวไทลื้อสิบสองปันนาที่หนีออกเมืองหลายทิศทางแยกออกได้นี้
สายที่ 1 เข้าสู่เมืองเชียงตุง ประเทศพม่า
สายที่ 2 เข้าสู่เมืองยอง ประเทศพม่า
สายที่ 3 เข้าสู่เมืองสิงห์ เมืองอู๋
สายที่ 4 เข้าสู่ประเทศลาว และไทย
สาเหตุการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานชาวไทลื้อมีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น
1. ถูกกวาดต้อน
2. เหตุบ้านการเมือง การปกครอง
3. ติดตามญาติพี่น้องที่มาก่อนแล้ว
4. หาแหล่งทำกินที่มีความอุดมสมบูรณ์ และมีความสงบสุขร่มเย็น มีภูมิประเทศที่เหมาะสม
ในประเทศไทยมีไทลื้ออยู่หลายจังหวัด ดังนี้
1.จังหวัดเชียงราย อ.แม่สาย, แม่จัน, เชียงแสน, เชียงของ, เวียงแก่น, แม่สรวย, เวียงป่าเป้า, แม่ฟ้าหลวง, เทิง, พาน
2. จังหวัดเชียงใหม่ อ.สะเมิง, ดอยสะเก็ด, วังเหนือ, แม่อาย
3. จังหวัดลำพูน อ.บ้านธิ, ป่าซาง, บ้านโฮ่ง, ลี้
4. จังหวัดลำปาง อ.แม่ทะ, เมือง
5. จังหวัดพะเยา อ.เชียงคำ, เชียงม่วน, จุน, ปง
6. จังหวัดน่าน อ.ปัว, สองแคว, ทุ่งช้าง
7. จังหวัดแพร่
8.จังหวัดตาก
วิถีชีวิตความเป็นอยู่
ที่ตั้งบ้านเรือน หรือหมู่บ้าน จะหาทำเลที่มีแม่น้ำลำคลองอยู่ใกล้หมู่บ้านและสะดวกในการเพาะปลูก ดำเนินชีวิตแบเรียบง่าย พอเพียง พึ่งพาตนเอง ชาวไทลื้อมักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน การสร้างบ้านเรือนแต่ละหลังในหมู่บ้าน คนทั้งหมู่บ้านจะมาช่วยกัน เวลาเก็บเกี่ยวข้าวก็จะช่วยกันให้เสร็จไปทีละเจ้า แต่เจ้าของนานั้นต้องได้ไปช่วยเขามาก่อนแล้ว ถ้าหนุ่มสาวคนใดเกียจคร้าน พ่อแม่บ่าวสาวจะตั้งข้อรังเกียจ ไม่ยอมให้แต่งงานด้วย
นิสัยใจคอ
ไม่ชอบความรุนแรง รักสงบ รักความสะอาด เรียบร้อย รักสวยรักงาม จิตใจเยือกเย็นสุขุม ซื่อสัตย์ สุจริจ มุ่งมั่น ขยันอดทน มีความหมั่นเพียร อ่อนน้อมถ่อมตน อ่อนหวาน เคารพนับถือพ่อแม่ ผู้มีอาวุโส ปู่ย่า ตาทวด บรรพบุรุษ
อาชีพ
ในปัจจุบัน ทำไร่ทำนา เลี้ยงสัตว์ ค้าขาย รับราชการฯลฯ
จุดเด่นกับความภาคภูมิใจของไทลื้อ
1. ความรักหมู่คณะ และรักชาติกำเนิดมีเอกลักษณ์ทางภาษา การแต่งกายเป็นของตนเอง
2. มีความรักสงบ รู้รักสามัคคี มีเมตตา ซื่อสัตย์
3. มีความสันโดษ มักน้อย
4. มีความเพียร มุ่งมั่น ขยัน อดทน มุมานะ
5. ยึดมั่นใน ชาติ ศาสนา พราะมหากษัตริย์
ศิลปะการแสดงของไทลื้อ
ฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง ตบมะพาบ ฟ้อนนก ฟ้อนปอยบั้งไฟ ขับเป่าปี่ ขับป่าหาโหล (เข้าป่าหาฟืน) ขับโลงน้ำ โลงหนอง (ลงน้ำ ..ขับเกี้ยวบ่าว-สาว)
วัฒนธรรมประเพณี
บวชลูกแก้ว ตานธรรม ตานก๋วยสลาก ตานเข้าพรรษา ออกพรรษา ฮ้องขวัญควาย แฮกนา เลี้ยงผีเมือง เตวดาเฮือน (เทวดาเรือน) ผีหม้อนึ่ง เตาไฟ ผิดผีสาว สืบชาตาหลวง กินแขก ประเพณีสงกรานต์ สูมาดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่
เทศกาลแต่ละเดือนใน 12 เดือนมีกิจกรรมดังนี้
เดือนเจี๋ยง (เดือนอ้าย) ปอยขึ้นพระธาตุ ขึ้นเรือนใหม่ กินแขก (แต่งงาน)
เดือนกรรม เข้ากรรม (อยู่ปริวาสกรรม) ตานข้าวใหม่
เดือนสาม เลี้ยงผีเมือง ปี๋ใหม่ไตลื้อ
เดือนสี่ สืบชาตาหลวง บวชตุ๊ กินแขก ขึ้นเฮือนใหม่
เดือนห้า ตานหมู่ข้าวน้อย ตานกองทรายพันกอง
เดือนหก ปอยสงกรานต์ปีใหม่เดือนหก ปอยบอกไฟสิรวด (ขอฝนพระยาแถน) กินแขก ขื้นเฮือนใหม่
เดือนเจ็ด ปอยแรกนา (ปักเสาแรกนาในนา บูชาขวัญข้าว)
เดือนแปด ปอยพระบาท (บูชาชักผ้ารอยพระพุทธบาท)
เดือนเก้า ตานเข้าพรรษา ตานข้าวหยาดน้ำ ตานธรรม อุทิศส่วนกุศลไปหาญาติพี่น้องผู้มีพระคุณ ที่ล่วงลับไปแล้ว
เดือนสิบ ตานหมู่ข้าว ผู้เฒ่าผู้แก่
เดือนสิบเอ็ด ปอยตานธรรมมหาปาง
เดือนสิบสอง ปอยออกพรรษา ตานต้นแปก (ต้นเกี๊ยะ) จิกองโหล บอกไฟดอก
ผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน
ผ้าทอ เครื่องจักสาน ทำเครื่องเงิน ทำเครื่องทอง ตีเหล็ก ตีมีด ทำเคียว ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ปั้นหม้อ
อาหารการกิน
น้ำหมี่ (น้ำพริก) ปู , น้ำหน่อ, น้ำผัก, มะเขือส้ม, ถั่วเน่า, ปลา, แม้ (รถด่วน), จิ้น ฯลฯ
อาหารคาว/แกง
จิ้นส้า (ลาบ) แกงอ่อม, ปลาปิ้งอบ, จิ้นไก่อุบ, ข้าวเหลืองเนื้อไก่, จิ้นซำพริก, ซีจิ้น (แกงส้มจิ้น) แกงหน่อไม้, ไกน้ำของ , (ตะใคร่น้ำแม่โขง) ส้มหนัง, น้ำหนัง, ส้มผักกุ่ม, ส้มผักกาด, จิ้นไก่หมี่ (ต้มยำจิ้นไก่) ตุ่งด้าง (แกงกระด้าง) แกงหน่อไม้, หลามบอน, เป๊อะหว่าง (เลือดกระด้าง) ฯลฯ
อาหารว่าง
ข้าวโคบ, ข้าวแคบ, ข้าวแล่งฟืน, ข้าวต่อ, ข้าวแต๋น, ข้าวเม็ดก่าย, ข้าวลอดซอง (ลอดช่อง), น้ำอ้อยก้อน, ข้าวส่วย, ข้าวฟืนน้ำอ้อย, ข้าวเหลืองน้ำอ้อย, ข้าวจี่งา, ข้าวจี่หมวก ฯลฯ
การเลี้ยงผี ปู่ ย่า ตา ยาย
ผีปู่ ย่า ตา ยาย หมายถึงผีประจำตระกูล หรือที่เรียกกันว่าผีบรรพบุรุษ กล่าวคือถ้า ปู่ ย่า ตา ยาย ล่วงลับไปแล้วพวกลูกหลานก็จะสร้างหอไว้ทางเบื้องทิศหัวนอน หรือในสถานที่ที่เห็นว่าสมควร บนหอจะมีหิ้งวางเครื่องบูชา เช่น พานดอกไม้ ธูปเทียน น้ำต้น(คนโท) วางเอาไว้ ในปัจจุบันคำว่า “ผีปู่ ย่า ตา ยาย ” กร่อมลงมาเหลือเพียงคำว่า “ผีปู่ย่า” ซึ่งเพื่อเป็นการสะดวกในการเรียกจะได้ไม่ยาวเกินไป
การนับถือผีปู่ ย่า ตา ยาย ก็มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า เวลาพ่อ แม่ ตายลงไป ในสมัยก่อนลูกหลานไม่ได้กินได้ทานอุทิศส่วนกุศลให้ดังเช่นสมัยนี้ สาเหตุเพราะว่าอาจจะไม่มีวัดหรือไม่ก็อยู่ห่างไกลวัดก็อาจเป้นได้ ลูกหลานมีความรักเอ็นดูห่วงใยพ่อแม่ จึงสร้างศาลสูงเพียงตาขึ้น แล้วมีดอกไม้ ธูปเทียน อาหาร หวานคาว ลูกส้มของหวาน บวงสรวงอัญเชิญดวงวิญญาณของพ่อแม่ให้มาอยู่ในศาล เพื่อพิทักษ์รักษาลูกหลานตลอดจนเครือญาติจะต้องถือผีปู่ ย่า ตา ยาย อันเดียวกัน แล้วก็ห้ามแต่งงานในวงศ์ที่ถือผีอันเดียวกัน
ผีปู่ ย่า ตา ยาย จะอยู่กับลูกหญิงตลอดไปโดยมากจะอยู่กับผู้หญิงคนหัวปี และจะต้องทำศาลให้ถ้าลูกคนหัวปีตายหรือหนีไปอยู่ที่อื่น ก็จะอยู่กับลูกหญิงคนถัดไปในเครือญาติที่เป็นปึกแผ่น การเลี้ยงผีปู่ ย่า ตา ยาย ในสมัยก่อนนั้น จะมีการส่งอาหารให้ทุกมื้อเมื่อมีการกินอาหาร ต่อมาเห็นว่าเป็นการลำบากต่อลูกหลานซึ่งจะต้องทำมาหากิน ขอส่งวันละครั้ง เดือนละครั้ง จนต่อมาในปัจจุบันเป็นปีละครั้ง
ประโยชน์ของการเลี้ยงผี ปู่ ย่า ตา ยาย
1. เป็นที่พึ่งทางใจ เพราะตามธรรมเนียมแล้วคนทางเหนือชอบนับถือยกย่องญาติผู้ใหญ่มาก ในเมื่อญาติผู้ใหญ่ล่วงไปแล้วก็สร้างศาลเอาไว้เป็นตัวแทน เมื่อตนประสบปัญหาก็ไปกราบไหว้บอกกล่าวให้ช่วยเหลือ
2. เป็นการรวมญาติที่อยู่ห่างไกลกันได้มาพบปะซักถามสารทุกข์สุขดิบต่อกัน
3. เป็นการแนะนำผู้ที่มาเป็นเขยให้รู้จักญาติพี่น้องของฝ่ายหญิง
ข้อห้ามของผี ปู่ ย่า
ในส่วนดีเฉพาะลูกผู้หญิง ผีปู่ ย่า วางข้อห้ามไว้ดังนี้คือ
ถ้าผู้ชายล่วงเกินจับมือถือแขนไม่ว่าในที่ลับหรือที่แจ้ง พอใจหรือไม่พอใจ จะต้องเสียผี
ห้ามหวีผมในเวลากลางคืน และห้ามส่องกระจกดูหน้าในเวลากลางคืน
ห้ามชายหนึ่งชายใด ที่มิใช่วงศ์ญาติถือผีเดียวกันเข้าไปเกินธรณีประตูห้องนอน ถ้าเข้าไปถือว่าผิดผี
คู่ผัวเมีย เกิดทะเลาะวิวาทหย่าร้างกันไปกลับมาคืนดีกันใหม่ จะต้องผิดผีเสียผี
ในวงศ์ญาติเดียวกันถ้าทะเลาะวิวาทกันก็จะผิดผี
ผู้หญิงถ้ามีชายอื่นใดมาทำให้ท้องจะต้องผิดผี แม้จะหาตัวชายผู้ทำไม่ได้ คนท้องจะต้องเป็นคนเสียผีเอง
พิธีการเลี้ยงผีปู่ ย่า นี้จะทำกันในเฉพาะวงศ์ญาติที่ใกล้เคียงกันเท่านั้น ที่อยู่ห่างออกไปต่างบ้านต่างเมืองก็ไม่มีโอกาสมาร่วมด้วย ด้วยสาเหตุนี้เองที่ทำให้บางคนทอดทิ้งไปเลย แต่ถ้าหากเป็นเทศกาลตรุษสงกรานต์บางคนที่ยังไม่ทอดทิ้งก็อาจจะมาร่วมด้วย ที่ใช้คำว่าอาจจะก็เนื่องจากบางคนอยู่ไกลเกินไปไม่สามารถจะมาร่วมได้ การเลี้ยงผีในวันสงกรานต์หรือปีใหม่แบบพื้นเมืองนี้เขาถือว่าเป็นการมา “ดำหัว” ผีปู่ ย่า ด้วย ซึ่งผู้ที่มาได้จะนำเอาเครื่องเซ่นสังเวย เช่น มะพร้าว กล้วย อ้อย มาร่วมกันและช่วยกันออกเงินค่าหัวหมูอีกด้วย พร้อมกันนั้นก็จะมีการดำหัว ญาติผู้ใหญ่ไปด้วย
การนับถือผีปู่ ย่า ดังกล่าวนี้ ปัจจุบันมิได้หมายถึงว่าจะนับถือกันทุกคน หรือทุกครอบครัว ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธอย่างแท้จริงโดยไม่มีการถือผี เขาก็จะไม่นับถือ ตามบ้านนอกก็เช่นเดียวกัน แต่ก็ยังมีการถือผีกันเป็นส่วนใหญ่ และส่วนมากก็จะเป็นการนับถือศาสนาพุทธปนกันกับไสยศาสตร์ เพราะพิธีกรรมทาง ไสยศาสตร์มักจะมีศาสนาพุทธเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ยากที่จะแยกได้
ความสำคัญ
ความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือผีปู่ย่าของชาวเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวลำปางนั้น อาจรวบรวมสาระซึ่งมีบทบาทต่อสังคมส่วนรวมได้ดังนี้
๑. ก่อให้เกิดการหลอมรวมทางเผ่าพันธุ์ของผู้คนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ด้วยการมีความคิดในการยกย่อง ให้เกียรติ และเห็นคุณค่าต่อผู้ที่เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ในตระกูลหรือวงศ์ของตน เจ้าปู่ย่าจะมีความยินดีและชื่นชมในลูกสะใภ้และลูกเขยเป็นพิเศษ แม้จะต่างเผ่าพันธุ์กันก็ตาม ทั้งนี้โดยมีความเชื่อว่าสะใภ้หรือฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายแพร่พันธุ์และเป็นฝ่ายสืบทอดประเพณีสำหรับเขยที่เข้ามาก็เท่ากับเป็นการเพิ่ม กำลัง ในวงศ์ตระกูลให้แข็งแกร่งขึ้น หากมองในด้านการเมืองการปกครองแล้ว นับว่าเป็นการหลอมรวมเผ่าพันธุ์ที่ดีอย่างหนึ่ง
นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับการซื้อผี หรือซื้อเข้าผี เช่น กลุ่มชนบางกลุ่มหรือบางตระกูล เมื่อเกิดศรัทธาเลื่อมใสผีปู่ย่าผามใดผามหนึ่งก็ขอซื้อ (ยกขันหรือบูชาครู) เพื่อขอเข้ามานับถือผีปู่ย่าด้วย พิจารณาอีกนัยหนึ่งก็คือ การขอเข้ามาร่วมอยู่ในเผ่าพันธุ์หรือสังคมนั่นเอง สภาพบ้านเมืองในสมัยโบราณนั้น การยอมให้คนอีกกลุ่มหนึ่งหรือเผ่าพันธุ์อื่นมาร่วมผีเดียวกับตน จึงเป็นนโยบายทางการเมืองในการเพิ่มกำลังผู้คนที่ลึกซึ้งยิ่งอย่างหนึ่ง
๒. การมีส่วนทำให้สังคมเป็นเอกภาพ นอกจากภาพรวมที่ประเพณีฟ้อนผีได้หลอมรวมผู้คนให้เป็นพวกเดียวกัน นับถือผีเดียวกันแล้ว ยังเป็นประเพณีที่ส่งเสริมให้ผู้คนมาร่วมแรงร่วมใจทำงานร่วมกัน ก่อให้เกิดความรู้สึกในการเป็นส่วนหนึ่งของงาน มีความปลาบปลื้มและภาคภูมิใจในความสำเร็จร่วมกัน ได้มาสังสรรค์ สนุกสนานร่วมกัน ประการสำคัญ คือ เป็นการสร้างความรู้สึกว่านับถือผีเดียวกัน หรือที่เรียกกันว่า เป็นผีเดียวกัน ซึ่งเป็นผลส่งให้เกิดความสามัคคีและความเป็นปึกแผ่นในวงค์ตระกูลหรือชุมชน
๓. เป็นศูนย์กลางของที่พึ่งทางใจ เป็นความหวังและความอบอุ่นอีกอย่างหนึ่งที่สามารถขอพึ่งพาเจ้าปู่ย่าได้ เช่น การทำนายทายทัก การเสกเป่า รดน้ำมนต์ต่าง ๆ
๔. บทบาทความเชื่อผีปู่ย่าในการอนุรักษ์วัฒนธรรมทางดนตรี การฟ้อนผีมด ผีเม็ง ที่เคร่งในขนบประเพณีนั้น จะห้ามใช้ดนตรีต่างวัฒนธรรมเข้ามาบรรเลงในผาม แม้แต่วงปาต ก็จะต้องใช้แบบแผนการบรรเลงแบบลำปาง หากเล่นผิดแบบแผน เช่น สำเนียงและสำนวนดนตรี ผิดจากที่คุ้นเคย ผีจะไม่เข้าหรือไม่สามารถทำการทรงได้ หรือทรงได้แล้ว อาจฟ้อนไม่ได้ เป็นต้น
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ดนตรีประกอบการฟ้อนผีในเมืองลำปาง จึงมีโอกาสน้อยมากที่จะเปลี่ยนแปลงขนบหรือแบบแผนในการดนตรีให้แปลกออกไปจากเดิม ดนตรีปี่พาทย์หรือวงพาทย์เมืองลำปาง จึงมีรายละเอียดหลายอย่างที่แสดงถึงความเป็นดนตรีแบบโบราณไว้ได้
พิธีกรรม
การนับถือผีปู่ย่าทั้งผีมดและผีเม็งนั้น อาจสรุปพิธีกรรมได้ดังนี้
๑. การเลี้ยงผี โดยนำเอาอาหารมาเซ่นสังเวย ซึ่งจะมีกำหนดเวลาที่แน่นอน บางแห่งเลี้ยงสามปีครั้ง บางแห่งอาจเลี้ยงทุกปี ชนิดของอาหารนั้นแต่ละตระกูลหรือแต่ละแห่งจะแตกต่างกัน เป็นต้นว่า บางแห่งเลี้ยงเฉพาะข้าวต้มและขนมไม่มีอาหารคาว บางแห่งต้องมีอาหารที่ทำจากเนื้อวัวหรือควาย บางแห่งนอกจากอาหารคาวอย่างอื่นแล้วต้องมีเนื้อหมูทั้งตัว บางแห่งต้องมีไก่ต้ม บางแห่งอาหารสำคัญคือปลาแห้ง บางแห่งต้องมีปลาร้า ที่สำคัญจะขาดไม่ได้ในการเลี้ยง คือ ต้องมีหมาก เมี่ยง บุหรี่ สุรา แต่อาจมีบางแห่งที่ไม่มีสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
การเลี้ยงอาจจะเลี้ยงทั้งแบบมีพิธีการเอิกเกริก เช่น มีดนตรีมาประโคม จัดทำผามหรือปะรำ ให้ผีได้มา ม่วน ฟ้อนรำกัน หรืออาจจะเลี้ยงแบบเงียบ ๆ ซึ่งเรียกว่า เลี้ยงดัก ไม่มีการประโคมดนตรี หรือมีการสนุกแต่อย่างใด
๒. การซื้อผี การที่ผู้คนซึ่งอยู่นอกตระกูลมีความประสงค์จะนับถือผีตระกูลนี้ หรือเจ้าองค์นี้เป็นที่พึ่ง ก็จะไปทำพิธีกับ เค้าผี ของตระกูล
๓. การแบ่งผี ผู้คนของตระกูลมีความประสงค์จะนำพิธีกรรมนี้ไปปฏิบัติในอีกที่หนึ่ง ซึ่งตนเองไม่สะดวกที่จะมาร่วมกิจกรรมหรือพิธีกรรม ณ ที่แห่งนี้ เช่น อยู่ห่างไกล หรืออยู่ต่างเมือง เป็นต้น ก็สามารถแบ่งผีไปนับถือในที่แห่งอื่นได้
๔. ข้อพึงปฏิบัติในพิธีกรรมการฟ้อนผีปู่ย่า มีดังนี้
๔.๑ ในการสร้างผามต้องระมัดระวังในการผูกโครงหลังคา เรียงหัวไม้ท้ายไม้ให้ไปในทางเดียวกัน
๔.๒ การประกอบอาหารสำหรับเลี้ยงผี ห้ามหยิบเครื่องปรุงต่าง ๆ มากิน แม้แต่การปรุงรสก็ห้ามชิม
๔.๓ ต้องแสดงถึงความเป็นผู้มีสัมมาคารวะต่อเจ้าปู่ย่าทั้งหลาย แม้ในความเป็นจริงของโลกมนุษย์ ม้าขี่ ที่เป็นร่างทรงของเจ้าปู่ย่าอาจเป็นภรรยา พี่ น้อง ลูกหลาน หรือเพื่อนก็ตาม ห้ามทำเล่นหัว ล้อเล่น หรือแสดงกิริยาไม่เป็นการเคารพ
๔.๔ บุคคลภายนอกเมื่อต้องการเข้าไปชม ควรขออนุญาตเจ้าของงานหรือญาติพี่น้องเสียก่อน
๔.๕ อุปกรณ์เครื่องใช้ในการสร้างผามเมื่อนำมาปลูกสร้างแล้ว จะเป็นของเจ้าปู่ย่า หากต้องการนำมาใช้เพื่อสร้างผามอีก หรือต้องการเอาไปทำประโยชน์ต้องขออนุญาตเจ้าปู่ย่าเสียก่อนปัญหาต่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น